วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็น
อย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต ๑.๒ มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และ
ความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ต ๑.๓ นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการ
พูดและการเขียน

สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้
อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
กับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็น
พื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน

สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต ๔.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต ๔.๒ ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

สาระการเรียนรู้แกนกลาง

1. คำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ และคำชี้แจงในการทำอาหารและเครื่องดื่ม การประดิษฐ์ การใช้ยา/สลากยา การบอกทิศทาง ป้ายประกาศต่างๆ หรือการใช้อุปกรณ์
- คำสั่ง เช่น Look at the…/here/over there./ Say it again/ Read and draw./ Put a/an…in/on/under a/an…/ Go to the window and open it./ Takeout the book, open on page ๑๗ and read it./Don’t go over there./ Don’t be late. etc.
- คำขอร้อง เช่น Please look up the meaning in a dictionary./ Look up the meaning in a dictionary, please./ Can/Could you help me,please?/ Excuse me, could you …? etc.
- คำแนะนำ เช่น You should read everyday./Think before you speak./ คำศัพท์ที่ใช้ในการเล่นเกม Start./ My turn./ Your turn./ Roll the dice./ Count the number./ Finish. etc.
- คำสันธาน (conjunction) เช่น and/but/or
- ตัวเชื่อม (connective words) เช่น First,…Second,…Third,… Next,… Then,… Finally,…etc.

2. ข้อความ นิทาน และบทร้อยกรองการใช้พจนานุกรมหลักการอ่านออกเสียง เช่น
- การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะท้ายคำ
- การออกเสียงเน้นหนัก-เบา ในคำและกลุ่มคำ
- การออกเสียงตามระดับเสียงสูง-ต่ำ ในประโยค
- การแบ่งวรรคตอนในการอ่าน
- การอ่านบทร้อยกรองตามจังหวะ

3. ข้อความ นิทาน และบทร้อยกรองการใช้พจนานุกรมหลักการอ่านออกเสียง เช่น
- การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะท้ายคำ
- การออกเสียงเน้นหนัก-เบา ในคำและกลุ่มคำ
- การออกเสียงตามระดับเสียงสูง-ต่ำ ในประโยค
- การแบ่งวรรคตอนในการอ่าน
-การอ่านบทร้อยกรองตามจังหวะแผนภูมิ ตาราง ภาพสัตว์ สิ่งของ บุคคล สถานที่ต่างๆ โดยใช้ Comparison of adjectives/ adverbs/Contrast : but, although/ Quantity words เช่น many/ much/ a lot of/ lots of/ some/ any/ a few/few/ a little/ little etc.

4. บทสนทนา นิทาน เรื่องสั้น และเรื่องจากสื่อประเภทต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร วิทยุ
โทรทัศน์ เว็บไซด์การจับใจความสำคัญ เช่น หัวข้อเรื่อง ใจความสำคัญ รายละเอียดสนับสนุนคำถามเกี่ยวกับใจความสำคัญของเรื่อง เช่น ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม ใช่หรือไม่
- Yes/No Question
- Why-Question
- Or-Question  etc.
- Tenses : present simple/ present continuous/past simple/ future simple etc.
- Simple sentence/ Compound sentence